logo

การบริหารความเสี่ยงของบริษัทต่าง ๆ ต่อความผันผวนของราคาน้ำมัน

บริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน จะต้องเผชิญกับความผันผวนที่รุนแรงของน้ำมัน ในปี 2020 ราคาน้ำมันฟิวเจอร์ได้ลดลงจนถึงติดลบเมื่อต้นปีและตีกลับมาราว ๆ 40 เหรียญ/บาร์เรล ในตอนปลายปี บริษัทที่บริหารความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันได้ไม่ดีอาจจะเกิดการขาดทุนที่หนักจนถึงขั้นล้มละลายได้

blank

บริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน จะต้องเผชิญกับความผันผวนที่รุนแรงของน้ำมัน ในปี 2020 ราคาน้ำมันฟิวเจอร์ได้ลดลงจนถึงติดลบเมื่อต้นปีและตีกลับมาราว ๆ 40 เหรียญ/บาร์เรล ในตอนปลายปี บริษัทที่บริหารความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันได้ไม่ดีอาจจะเกิดการขาดทุนที่หนักจนถึงขั้นล้มละลายได้

บริษัทชั้นนำของโลกที่ประสบความสำเร็จ เช่น PTTGC ทำการบริหารความเสี่ยงโดยใช้มาตรฐานสากล COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) และ ISO 31000 ซึ่งเป็นระบบการจัดการความเสี่ยงขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ

ราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่มีการผันผวนสูง เป็นปัจจัยสำคัญที่ได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และราคาของวัตถุดิบ ในทุก ๆ สัปดาห์บริษัทจะประชุมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และทำการบริหารความเสี่ยงผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในตลาด เช่น การใช้ตราสารอนุพันธ์ และ/หรือทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ตลาดและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภายใต้กรอบที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (RMC)

การที่จะเป็นบริษัทที่จะทำธุรกิจน้ำมันชั้นแนวหน้า จะต้องออกแบบโครงสร้างสัดส่วนธุรกิจให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน โดยจะต้องทำการลงทุนทางด้านการวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการแสวงหาการลงทุนใหม่ ๆ เช่น คลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) และคณะทำงานพัฒนาระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น

บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะต้องมองความเสี่ยงทางด้านวัตถุดิบในระยะยาว ตัวอย่างเช่น บริษัท PTTGC ได้ออกแบบและประมูลมูลค่าโครงการปรับปรุงกระบวนการผลิต โรงโอเอฟินล์ เพื่อให้สามารถรองรับวัตถุดิบได้หลายหลายขึ้น โดยลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย เพิ่มการใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้เองที่มีอยู่ในบริษัทฯ เช่น แนฟทา และแอลพีจี หรือออกแบบเพื่อให้ใช้วัตถุดิบที่นำเข้าให้คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

การปรับสัดส่วนผลิตภัณฑ์ ที่เปลี่ยนจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นพื้นฐาน ไปสู่เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ที่มีความเจาะจงกับลูกค้าจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนที่รุนแรงของราคาน้ำมันได้ โดยจะต้องต่อยอดธุรกิจให้ไปถึงอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายมากขึ้น สอดคล้องกับอุตสาหกรรมปลายทางของเป้าหมาย โดยต้องมุ่งเน้นความร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นเจ้าของสินค้า


โดยสรุป การบริหารความเสี่ยงของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ในการบริหารระยะสั้น คือการบริหารทางด้านต้นทุนวัตถุดิบ โดยการใช้ตราสารอนุพันธ์ และ/หรือทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ตลาดและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในระยะยาวบริษัทจะต้องเปลี่ยนจากการใช้เทคโนโลยีไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงเพื่อช่วยลดผลกระทบจากราคาน้ำมัน เนื่องจากสินค้าที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าจะสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทได้มากกว่า ส่งผลให้สามารถเพิ่มกำไร และ/หรือ สามารถช่วยลดผลการขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันที่รุนแรง


ข้อมูลบทความ

1.2K+ like โพสวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ใน facebook

เข้าไปอ่านบทความในเพจได้ที่ การบริหารความเสี่ยงของบริษัทต่าง ๆ ต่อความผันผวนของราคาน้ำมัน

*บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกตีความว่า มีการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำเสนอสำหรับการทำธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงินต่าๆ โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออนาคต เนื่องจากสภาวการณ์อาจมีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน

Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

blank

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 13/01/2023

นักลงทุนให้น้ำหนักถึง 90% ว่า การประชุมของเฟดครั้งถัดไปวันที่ 31 ม.ค. – 1 ก.พ เฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยปรับอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25%

อ่านเพิ่มเติม