เป้าหมายหลักของการลงทุนก็คือ การที่ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในสินทรัพย์อาจจะอยู่ในรูปดอกเบี้ย ส่วนแบ่งกำไร หรือส่วนต่างราคา ซึ่งในบทความเหล่านี้เราจะพูดถึงเรื่องราวเหล่านี้กัน
ดอกเบี้ย (Interest) คือ อะไร?
ดอกเบี้ย เป็นผลตอบแทนที่เจ้าหนี้จะได้รับเพิ่มเติมจากลูกหนี้จากการให้ยืมไปลงทุน
ผู้รับดอกเบี้ย = เจ้าหนี้
ผู้จ่ายดอกเบี้ย = ลูกหนี้
ดอกเบี้ย เป็นผลตอบแทนที่เจ้าหนี้ได้รับเมื่อให้ลูกหนี้ยืมไปลงทุน เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ หรือการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน เป็นต้น
เมื่อกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันเอาไว้ นักลงทุนจะได้รับ เงินต้นกลับคืนมาพร้อมทั้งดอกเบี้ย แต่ถ้าลูกหนี้ไม่จ่ายแล้วล่ะก็ เจ้าหนี้จะเป็นคนแรกที่มีสิทธิ์ในการไปไล่ยึดทรัพย์ลูกหนี้ และถ้าไม่มีจ่ายจะอยู่ในสถานะผิดรับชำระหนี้หรือล้มละลาย (default)
เงินปันผล (dividened) คืออะไร?
ผลตอบแทนในรูปเงินปันผลนั้นมีความแตกต่างจากเจ้าหนี้ คือ มีสิทธิเป็นเจ้าของ หรือเป็นหุ้นส่วนของกิจการ ผู้ที่ได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลจึงมักจะเป็นหุ้นส่วนของบริษัท เจ้าของบริษัท ในแง่กฏหมายนั้นการจ่ายผลตอบแทนในรูปเงินปันผลไม่จำเป็นต้องจ่ายทุกครั้งเหมือนดอกเบี้ย แต่เมื่อจ่ายแล้วจะต้องแบ่งตามสิทธิหรือสัดส่วนการลงทุนของผู้ถือหุ้น
ผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนตามสินทรัพย์ทางการเงิน
1.เงินสดและเงินฝาก (ความเสี่ยงต่ำ, ผลตอบแทนต่ำ,สภาพคล่องสูง) เช่น เงินฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ ตั๋วเงินต่าง ๆ
2.ตราสารหนี้ (ความเสี่ยงปานกลาง,ผลตอบแทนปานกลาง,สภาพคล่องต่ำ) เช่น พันธบัตร หุ้นกู้
3.ตราสารทุน (ความเสี่ยงสูง, ผลตอบแทนสูง, สภาพคล่องสูง) เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบริมสิทธิ
4.ตราสารอนุพันธ์และสินทรัพย์ทางเลือก (ความเสี่ยงสูงมาก, ผลตอบแทนสูงมาก, สภาพคล่องต่ำ) เช่น ฟิวเจอร์ ออปชั่น ทองคำ น้ำมัน ค่าเงิน รวมถึง cryptocurrency
จะเห็นว่าในการลงทุนนั้น ผลตอบแทนและความเสี่ยงในการลงทุนมักจะเป็นของคู่กัน ยิ่งลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงก็ย่อมมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงตามหลักการ high risk high return ดังนั้นจึงควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงที่เรารับได้ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
ลงทุนให้ชนะเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ คือ อัตราการเสื่อมค่าของเงิน ยิ่งมีอัตราเงินเฟ้อที่สูง เงินยิ่งมีอัตราการเสื่อมค่าที่สูง หมายถึง มีเงินเท่าเดิมเราซื้อของได้น้อยลง หรือ กำลังซื้อลดลงนั่นเอง
ดังนั้นเงินเฟ้อจึงถูกยกให้เป็นความเสื่ยงที่สำคัญในการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงแทบทุกประเภท
การที่ลงทุนในสินทรัพย์แล้วได้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ เราเรียกว่า แพ้เงินเฟ้อ ตัวอย่างเช่น
-เราลงทุนในเงินฝากได้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.00
-แต่อัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 3%
-ดังนั้นเรา แพ้เงินเฟ้อเท่ากับ 2% หรือ อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง คือ -2%
ดังนั้นจากตัวอย่างดังกล่าวถ้าเราอยากจะชนะเงินเฟ้อ ก็จะต้องเลือกสินทรัพย์ที่จะลงทุนที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 3% จึงจะทำให้อัตราผลตอบแทนเป็นบวกหรือชนะเงินเฟ้อนั่นเอง ซึ่งสินทรัพย์ที่ลงทุนได้มีมากมาย ตั้งแต่หุ้นกู้ กองทุน หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ FOREX และตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ
3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลตอบแทนการลงทุน
ถ้าลงทุน 1 ล้านบาทปีนี้ อีก 10 ปีข้างหน้า จะมีเงินกี่บาท ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการเติบโตของเงินทุนของเรา ในบทความนี้จะหาคำตอบมาให้
การลงทุนให้ได้ผลตอบแทน ไม่ว่าจะมากหรือน้อยนั้น จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้
- อัตราผลตอบแทน มักจะประมาณการให้อยู่ในรูปร้อยละ ยิ่งการลงทุนใดที่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงจะช่วยเพิ่มโอกาสทำให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเมื่อเป็นไปตามคาดการณ์ อย่างไรก็ตามการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงมักจะมีความเสี่ยงที่สูงตามมาด้วย ดังนั้นผู้ลงทุนต้องทำการพิจารณาควบคู่กัน การลงทุนในความรู้ให้มาก ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนไปได้
- เวลา ถ้าเราทำการลงทุน 1 ปี กับ 10 ปี ที่อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกัน แน่นอนว่าการลงทุนระยะเวลา 10 ปีนั้นจะให้ผลตอบแทนมากกว่า และในโลกแห่งการเงินและการลงทุนยังมีมหัศจรรย์ของการลงทุนทบต้น ทำให้คนยิ่งมีเวลาลงทุนมากมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากขึ้นไปอีก
3.เงินทุน ปัจจัยสุดท้ายที่ส่งผลต่อผลตอบแทนคงหนีไม่พ้น “เงินทุน” ยิ่งมีเงินลงทุนมากยิ่งทำให้ได้เปรียบมากขึ้น ดังนั้นคนที่มีฐานะดีมักแต่ต้นจึงมักจะมีความได้เปรียบคนที่มีฐานนะยากจนเสมอ แต่อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันเรื่องเงินทุนอาจจะไม่ใช่ปัญหา เนื่องจากเราสามารถใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อเร่งอัตราผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้นได้โดยใช้เงินทุนไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตามเงินทุนนั้นควรจะเป็นเงินเย็น
โดยสรุป 3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลตอบแทนในการลงทุน ได้แก่ 1) อัตราผลตอบแทน 2) เวลา และ 3) เงินทุน
น้ำมัน บทความยอดนิยม ประวัติเทรดเดอร์ พื้นฐาน technical analysis เทรดเดอร์มือใหม่ ์Indicator
*บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกตีความว่า มีการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำเสนอสำหรับการทำธุรกรรมใดๆ ในเครื่องมือทางการเงินต่างๆ โปรดทราบว่าการวิเคราะห์การซื้อขายดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออนาคต เนื่องจากสภาวการณ์อาจมีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน