logo

ข่าวเศรษฐกิจรอบโลกประจำวันที่ 5 เมษายน 2567

  • ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลดลง -0.03 จุด หรือ -0.03% มาอยู่ที่ระดับ 104.2 จุด
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี  ปรับตัวลดลง -0.04 % มาอยู่ที่ระดับ 4.307% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปี ปรับตัวลดลง -0.03 % มาอยู่ที่ระดับ 4.652% โดยที่ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปี น้อยกว่า 2 ปี เท่ากับ-0.35% อยู่ในภาวะ inverted yield curve
  • โธมัส บาร์คิน ประธานธนาคารกลางสหรัฐริชมอนด์  กล่าวว่า เขากังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในหลายประเภทของสินค้าและบริการ และมองว่า ราคาสินค้าต้องลดลงอย่างกว้างขวางมากกว่านี้ก่อนที่เขาจะปรับลดดอกเบี้ย
  • นีล คาชคารี ประธานธนาคารกลางสหรัฐแห่งมินนีแอโพลิส  กล่าว ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เดือนที่แล้ว เขาคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แต่ในวันนี้เขามองว่า หากเงินเฟ้อยังคงทรงตัว ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเลยภายในปลายปี

  • บริษัทบริหารสินทรัพย์ของสหรัฐ กล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างนุ่มนวล ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยสูงทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวโดยที่ไม่ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะหดตัวลง หรือเงินเฟ้อคงอยู่นานกว่าคาด ยังคงเพิ่มขึ้น
  • นางเอเดรียนา คุกเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความเห็นว่า เงินเฟ้อสหรัฐจะลดลงอีกโดยไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานและการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้ ซึ่งจะสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นฝ่ายกิจการระหว่างประเทศในปี กล่าวว่า ทางการญี่ปุ่นไม่มีแนวโน้มที่จะเข้ามาแทรกแซงในตลาดปริวรรตเงินตรา นอกจากว่าเยนจะดิ่งลงสู่ระดับต่ำกว่า 155 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ 
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 500 จุดในวันพฤหัสบดี หลังจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลายคนได้ออกมาส่งสัญญาณว่าเฟดไม่ควรเร่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยหากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มตลาดแรงงานและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด
  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 38,596.98 จุด ลดลง 530.16 จุด หรือ -1.35%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,147.21 จุด ลดลง 64.28 จุด หรือ -1.23% 
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 16,049.08 จุด ลดลง 228.38 จุด หรือ -1.40%
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับลดการประเมินเศรษฐกิจของ 7 ใน 9 ภูมิภาค อันเนื่องมาจากการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนและการผลิตรถยนต์อ่อนแอ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่นยังคงมีการฟื้นตัว นอกจากนี้การปรับขึ้นค่าจ้างกำลังกระจายตัวจากบริษัทขนาดใหญ่ไปยังบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งถือเป็นสัญญาณเชิงบวกว่า BOJ มีแนวโน้มใกล้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2%
  • ผลผลิตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นฟื้นตัวเต็มศักยภาพเป็นครั้งแรกในรอบประมาณ 4 ปีในไตรมาส 4/2566 ซึ่งส่งสัญญาณเชิงบวกว่าอาจหนุนให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ทั้งนี้ BOJ ประมาณการในวันนี้ (3 เม.ย.) ว่า ส่วนต่างผลผลิตเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งวัดส่วนต่างระหว่างผลผลิตที่แท้จริงและผลผลิตระดับศักยภาพของเศรษฐกิจญี่ปุ่น อยู่ที่ +0.02% ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี โดยสัญญาทองคำอ่อนแรงลงเล็กน้อยหลังจากทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
  • ราคาทองคำตลาดโลก ปรับตัวลดลง -8.72 เหรียญ หรือ -0.38% อยู่ที่ระดับ 2,291.21 เหรียญ
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 6.50 เหรียญ หรือ 0.28% ปิดที่ 2308.50 เหรียญ
  • สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 18.7 เซนต์ หรือ 0.69% ปิดที่ 27.247 เหรียญ
  • สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 6.10 เหรียญ หรือ 0.64% ปิดที่ 952.60 เหรียญ
  • กองทุนทองคำ SPDR วันก่อนหน้าซื้อเข้า 1.73 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 832.45 ตันภาพรวมเดือนเมษายน ซื้อสุทธิ 2.3 ตัน ขณะที่ปีนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. – ปัจจุบัน ขายสุทธิ 46.66 ตัน
  • นักวิเคราะห์จากบริษัท StoneX แสดงความเห็นว่า ราคาทองคำปรับฐานลง หลังจากที่พุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงและทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • โอซีบีซี (OCBC) ซึ่งเป็นธนาคารของสิงคโปร์คาดการณ์ว่า ราคาทองคำยังคงมีแนวโน้มพุ่งขึ้นต่อไปในระยะกลาง โดยหลักฐานในอดีตนับตั้งแต่ปี 2544 แสดงให้เห็นว่าราคาทองคำจะปรับตัวอย่างแข็งแกร่งเมื่อเฟดยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจะพุ่งขึ้นต่อไปเมื่อเฟดเริ่มวงจรปรับลดอัตราดอกเบี้ย
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทะลุระดับ 86 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี ขณะที่สัญญาน้ำมันเบรนท์ปิดที่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2566 เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า สถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางมีแนวโน้มลุกลามและอาจจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลก
  • สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.16 ดอลลาร์ หรือ 1.36% ปิดที่ 86.59 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 1.30 ดอลลาร์ หรือ 1.45% ปิดที่ 90.65 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • แบงก์ ออฟ อเมริกา (BofA) คาดการณ์ว่า การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เผชิญกับความยากลำบากมากขึ้นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แม้เฟดยังคงมีโอกาสที่จะดำเนินการดังกล่าวก็ตาม
Facebook
Twitter
Email

ข่าวสารเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 09/05/2023

FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 83.4% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย และให้น้ำหนักเพียง 16.6% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.

อ่านเพิ่มเติม

บริษัทวิจัย Crypto ชื่อดังเผย! Bitcoin มีความผันผวนน้อยกว่า Nasdaq, S&P 500 และทองคำ

ความผันผวนของ Bitcoin ในช่วง 5 วันที่ผ่านมาอยู่ต่ำกว่าสินทรัพย์แบบดั้งเดิมอย่าง เช่น Nasdaq, S&P 500 และทองคำ ในขณะเดียวกัน ความผันผวนของราคา Bitcoin ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาก็อยู่ใกล้กับระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ซึ่งระดับดังกล่าวคงอยู่เพียงแค่ 8 วันในเดือนมกราคม 2019

อ่านเพิ่มเติม

วิเคราะห์ทองคำประจำวันที่ 09/06/2023

ราคาทองปิดบวก 20.20 เหรียญ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าบวกบอนด์ยีลด์ร่วง และตัวเลขข้อมูลฝั่งตลาดแรงงานออกมาแย่กว่าที่คาดหนุนคาดการณ์เฟดคงดอกเบี้ยส่งผลหนุนราคาทองคำ

อ่านเพิ่มเติม